Back to Top
Tank fabrication
Tank fabrication: เราเป็นโรงงานผลิตถังเหล็กและถังสแตนเลสมาตรฐานอุตสาหกรรม รับรองด้วย ISO1009:2015 และเราทำตาม ASME Standard ช่างเชื่อมของเรามีใบ welder certificate ด้วยประสบการณ์อันยาวนานในภาคอุตสาหกรรมนี้ เราจึงมีความเชี่ยวชาญในการผลิตถังชนิดต่างๆ เช่น ถังสต๊อก (Storage tank), ถังไซโล (Silo tank), ถังแบบต่างๆตามที่ลูกค้าต้องการ (Customized tank) เป็นต้น ทีม QC ของเราจะจัดทำรายงานและตรวจสอบการผลิตให้เป็นไปตามความต้องการของคุณ ทั้งในด้านรูปแบบ ความแข็งแรง และคุณภาพของสินค้า เพื่อให้คุณมั่นใจในผลงานของเราก่อนนำส่งเพื่อไปใช้งาน
ถังเหล็ก/สแตนเลสมีกี่ประเภท
ถังสแตนเลสมีกี่ประเภท เป็นคำถามที่เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการที่มองหาโรงงานผลิตถังสแตนเลส รับผลิตถังสแตนเลสต่างพากันสงสัย เพราะแต่ละประเภทได้รับการออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ เฉพาะการใช้งานแตกต่างกัน จะมี 8 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
ถังเก็บน้ำ (Storage Tank)
ถังเก็บน้ำเป็นทรงกระบอกที่มีฐานเรียบ มีขนาดหลากหลายตั้งแต่เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ไปจนถึงมากกว่า 10 เมตร ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า ถังเก็บผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอนหรือสแตนเลส
ถังไซโล (Silo Tank)
ถังไซโลเป็นถังทรงกรวย ส่วนใหญ่ใช้สำหรับเก็บกักวัตถุดิบประเภทผง เช่น ปูน ข้าว น้ำตาล และพืชผลทางการเกษตร เนื่องจากสะดวกต่อการถ่ายเทไปยังสถานที่อื่น
ถังผสม (Mixing Tank)
ถังผสมเป็นถังที่ผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอนหรือสแตนเลส ภายในถังมีเครื่องกวน (agitator) ที่สามารถผสมส่วนผสมต่าง ๆ ภายในถังเข้าด้วยกัน ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และเคมี
ถังเร่งปฏิกิริยา (Reactor Tank)
ถังเร่งปฏิกิริยามีลักษณะคล้ายกับถังผสม มีเครื่องกวนและมอเตอร์ แต่ความแตกต่างคือ ถังเร่งปฏิกิริยามีความดันภายในถัง และมีเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนอยู่ภายในถังด้วย ลักษณะของถังเร่งปฏิกิริยาปิดด้านบนด้วยฝาปิดแบบ Dish Head
ภาชนะรับแรงดัน (Pressure vessel)
ภาชนะรับแรงดันเป็นถังที่ใช้สำหรับเก็บกักของเหลวหรือก๊าซที่ต้องอาศัยแรงดัน ลักษณะของ ถังเป็นแบบปิดสนิท ปิดทั้งด้านบนและด้านล่าง ด้วยฝาปิด Dish Head ความหนาของตัวถังหนา กว่าถังเก็บทั่วไป และมีน้ำหนักมากกว่าถังเก็บทั่วไป เนื่องจากความเย็นของถังความดัน ขึ้นอยู่ กับความดันที่ต้องการใช้งาน
ถังตกตะกอน (Sedimentation Tank)
ถังตกตะกอนเป็นถังตกตะกอนทรงกระบอกที่มีรูปทรงกรวยหรือปลายแหลมที่ด้านล่างของถัง เพื่อให้ตะกอนตกตะกอนและถูกปล่อยออก รวมทั้งมีระบบ Weir เพื่อให้น้ำใสที่แยกออก ไหลล้นออก
ถังเติมอากาศ (Aerator Tank)
ถังเติมอากาศ (Aerator Tank) หมายถึง บ่อหรือถังที่ใช้เติมอากาศลงไปในของเหลวด้วยวิธีการ ตี คน หรือเป่าลม เช่น ถังเติมอากาศในระบบบำบัดน้ำเสียแบบ Activated Sludge เพื่อเพิ่ม พื้นที่ผิว สิ่งนี้ทำให้อัตราการละลายของออกซิเจนในน้ำที่ความดันบรรยากาศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ แบคทีเรียที่ต้องการอากาศสามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อย่อยสลาย สารอินทรีย์ในน้ำเสีย ส่วนใหญ่นิยมใช้ถังเติมอากาศในโรงงานผลิตน้ำดื่มหรือโรงงานที่ต้องการ ปรับปรุงคุณภาพน้ำ
ถังออกแบบพิเศษ (Customized Tank)
บริษัท สุรศักดิ์ เอ็นจิเนียริ่ง ให้บริการแบบครบวงจรสำหรับการผลิตถังออกแบบพิเศษ ทั้งเหล็กกล้าคาร์บอน SS400 และสแตนเลส SUS304, SUS316, SUS316L ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่าถังของเราจะได้มาตรฐานเพราะเรามีการทดสอบแรงดัน ทดสอบการเชื่อมโดยทีม QC หรือบุคคลที่สาม
การใช้งานถังสแตนเลสสำหรับอุตสาหกรรม
การใช้งานถังสแตนเลส ที่ผลิตโดยโรงงานรับผลิตเหล็กและสแตนเลสสำหรับอุตสาหกรรม มีคุณสมบัติที่โดดเด่น เช่น ทนทานต่อการกัดกร่อน ทนทานต่อความร้อนสูง ถูกสุขลักษณะ และทำความสะอาดง่าย ถังสแตนเลสมักจะใช้งานในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ
ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกถังสแตนเลส
ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกโรงงานผลิตถังสแตนเลส เลือกถังเหล็กและสแตนเลสที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณนั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- ขนาดและความจุ : พิจารณาปริมาณวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเก็บรักษา เลือกขนาดถังที่มีความจุเพียงพอต่อการใช้งานเผื่อพื้นที่ว่างสำหรับการขยายปริมาณการผลิตในอนาคต
- ประเภทของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ : เลือกชนิดของเหล็กและสแตนเลสที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ พิจารณาความทนทาน อุณหภูมิ และแรงดัน เลือกถังที่มีการออกแบบและคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ฝาปิด ก๊อก วาล์ว ฯลฯ
- ถังสแตนเลสต้องมีมาตรฐาน : ตรวจสอบว่าถังสแตนเลสที่เลือกนั้น ผ่านมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมของคุณ ตัวอย่างมาตรฐานที่พบได้ทั่วไป เช่น GMP, HACCP, FDA, ASME ฯลฯ
- งบประมาณ : กำหนดงบประมาณสำหรับการซื้อถังสแตนเลส เปรียบเทียบราคาและคุณสมบัติของถังจากผู้จำหน่ายต่าง ๆ เลือกถังที่คุ้มค่าที่สุดกับเงินที่จ่าย
ประโยชน์ของถังสแตนเลส
ประโยชน์ของถังเหล็กและสแตนเลส ถังสแตนเลสได้รับความนิยมในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากคุณสมบัติอันโดดเด่นหลายประการ ดังต่อไปนี้
ทนทานต่อการกัดกร่อน
ผลิตจากเหล็กกล้าไร้สนิมซึ่งมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ เหมาะสำหรับใช้งานในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง ช่วยยืดอายุการใช้งานและลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
ทนทานต่อความร้อนสูง
ถังสแตนเลสสามารถทนต่อความร้อนสูงได้โดยไม่เสียรูปหรือเสื่อมสภาพ เหมาะสำหรับใช้งานในกระบวนการที่มีความร้อนสูง เช่น การผลิตอาหาร การแปรรูปเคมี และการผลิตยา
สุขอนามัย มีความปลอดภัย
ผิวหน้าเรียบเนียน ทำความสะอาดง่าย ป้องกันการสะสมของแบคทีเรียและสิ่งปนเปื้อน เหมาะสำหรับใช้งานในอุตสาหกรรมอาหาร ยา และเครื่องสำอางที่ต้องการความสะอาดสูง ยิ่งไปกว่านั้น ถังสแตนเลสไม่มีสารปนเปื้อนหรือสารพิษ ปลอดภัยสำหรับการสัมผัสกับอาหารและยา
อายุการใช้งานยาวนาน
ถังสแตนเลสมีความทนทาน ทนต่อการสึกหรอ สามารถใช้งานได้ยาวนานหลายปี ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว และสามรถรีไซเคิลได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รองรับการใช้งานหลากหลาย
ถังสแตนเลสมีหลากหลายประเภท ขนาด และความจุ เหมาะสำหรับใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร ยา เคมี อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ กระดาษ การเกษตร และอื่น ๆ
ต้องการผลิตถังสแตนเลสเลือก Surasak Engineering
ต้องการผลิตถังเหล็กและสแตนเลสเลือก สุรศักดิ์ เอ็นจิเนียริ่ง โรงงานผลิตถังสแตนเลส รับผลิตถังสแตนเลส โดยผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์กว่า 40 ปี รับประกันงานคุณภาพ ถ้าหากคุณกำลังเริ่มต้นทำธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้ถังสแตนเลสสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เราคือคำตอบที่เหมาะสมที่สุดในตอนนี้
รับผลิตถังเหล็กและสแตนเลส โดยผู้เชี่ยวชาญ
ตัวอย่างผลงานการผลิตถังสแตนเลส จาก สุรศักดิ์ เอ็นจิเนียริ่ง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับถังสแตนเลส
ถังสแตนเลสสำหรับอุตสาหกรรมคืออะไร
ถังสแตนเลสสำหรับอุตสาหกรรม คือ ภาชนะทรงกระบอกหรือทรงอื่น ๆ ที่ผลิตจากเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel) ออกแบบมาเพื่อเก็บกัก สงวนรักษา ขนส่ง หรือแปรรูปวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ หรือวัสดุต่าง ๆ นิยมใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม
วัสดุที่ใช้ผลิตถังสแตนเลสมีประเภทใดบ้าง
วัสดุที่ใช้ผลิตถังสแตนเลสมี 4 ประเภท ดังนี้
SUS304 (18-8) : เกรดมาตรฐาน ทนทานต่อการกัดกร่อนทั่วไป เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไป เช่น ถังเก็บน้ำ ถังเก็บอาหาร
SUS316 (18-10) : ทนทานต่อการกัดกร่อนสูง ทนกรด เกลือ เหมาะสำหรับใช้งานในอุตสาหกรรมเคมี อาหาร ยา
SUS304L (18-8L) : ทนทานต่อการกัดกร่อนสูง เหมาะสำหรับงานเชื่อม
SUS904L (25-4L) : ทนทานต่อการกัดกร่อนสูง ทนกรด เกลือ เหมาะสำหรับใช้งานในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง
ถังสแตนเลสมีการบำรุงรักษาอย่างไร
ถังสแตนเลสโดยทั่วไปมีการบำรุงรักษาน้อยมาก เพียงทำความสะอาดภายนอกเป็นประจำด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีรุนแรง เช่น กรด ด่าง น้ำยาล้างจาน ตรวจสอบรอยต่อ รอยร้าว หรือรอยบุบเป็นประจำ หากพบความเสียหายควรซ่อมแซมโดยช่างผู้ชำนาญ
ถังสแตนเลสเกรดอะไรดีที่สุด
ถังสแตนเลสเกรดที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน สภาพแวดล้อม และงบประมาณ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกเกรดที่เหมาะสม
ถังสแตนเลสรั่วไหลได้ไหม
ถังสแตนเลสโดยทั่วไปไม่รั่วไหล แต่รอยต่อ รอยร้าว หรือรอยบุบ อาจทำให้เกิดการรั่วไหลได้ ควรตรวจสอบถังเป็นประจำและซ่อมแซมหากพบความเสียหาย
ถังสแตนเลสขึ้นสนิมได้ไหม
ถังสแตนเลสขึ้นสนิมได้ไหม คำตอบคือ ได้ หากโดนฝุ่นเหล็ก ดังนั้นจึงต้องหาโรงงานที่แยกพื้นที่การผลิตระหว่างเหล็กและสแตนเลสอย่างชัดเจน รวมไปถึงที่โรงงานนั้นควรแยกเครื่องมือสำหรับใช้กับเหล็กและสแตนเลสด้วย
ถังสแตนเลสมีอายุการใช้งานนานแค่ไหน
ถังสแตนเลสมีอายุการใช้งานยาวนานหลายปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น เกรดของสแตนเลส สภาพแวดล้อมการใช้งาน การบำรุงรักษา โดยทั่วไป ถังสแตนเลสเกรด SUS304 (18-8) สามารถใช้งานได้นานถึง 20-30 ปี เกรดที่ทนทานต่อการกัดกร่อนสูง เช่น SUS316 (18-10) อาจใช้งานได้นานถึง 40-50 ปี
ควรใช้วัสดุสแตนเลสเกรดอะไรดี
การเลือกเกรดสแตนเลสที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน สภาพแวดล้อม และงบประมาณ เกรดที่นิยมใช้ ได้แก่ SUS304 (18-8), SUS316 (18-10), SUS304L (18-8L) และ SUS904L (25-4L)
มีบริการติดตั้งหน้างานไหม
สุรศักดิ์ เอ็นจิเนียริ่ง มีบริการติดตั้งถังสแตนเลสหน้างานโดยช่างผู้ชำนาญ มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงาน
สรุป
หากคุณกำลังมองหาถังที่ผลิตจากเหล็กและสแตนเลสที่เต็มไปด้วยคุณภาพ และได้มาตรฐานตามข้อกำหนด สุรศักดิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คือ คำตอบที่ใช่สำหรับคุณ ด้วยประสบการณ์การทำโรงงานผลิตถังสแตนเลส รับผลิตถังสแตนเลสยาวนานกว่า 40 ปี พร้อมทีมช่างที่มีความเชี่ยวชาญของเรา ดังนั้น เราจึงมั่นใจ ว่าเราพร้อมที่จะดูแล ผลิตถังสแตนเลสที่ตรงกับความต้องการของคุณอย่างแน่นอน
References
https://www.sciencedirect.com/topics/nursing-and-health-professions/stainless-steel